Saturday, April 20, 2013

ภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ศาลโลกระหว่างไทยกับกัมพูชาเมื่อ 46 ปีก่อน


ผมขออนุญาตนำภาพเหตุการณ์ในอดีตมาให้ชมเป็นภาพจากหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยในยุคนั้น
ภาพเหตุการณ์ในอดีตจากหนังสือพิมพ์สยามนิกร



ภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ศาลโลกกรณีข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาเมื่อ 46 ปีก่อน
ที่มีลายพระหัตถ์ของอดีตกษัตริย์นโรดมสีหนุกำกับ

แน่นอน ว่าคำพิพากษาดังกล่าวได้มีผลใช้บังคับในทันที และไทยได้เสีย "เขาพระวิหาร" ให้แก่กัมพูชาไปตั้งแต่บัดนั้นมา แต่อย่างไรก็ตามเรายังมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะรื้อฟื้นคดีดังกล่าว ไม่ว่าจะนานสักเพียงใด สาเหตุเพราะปัญหาเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศอาจถูกระงับไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจาก

1. รัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีเทคนิคของการสำรวจพื้นที่ที่ดีพอหรือไม่สามารถนำ เทคนิคเหล่านี้ไปใช้เพื่อตรวจว่าเส้นเขตแดนปัจจุบันถูกต้องตรงตามที่ตนได้ทำ ความตกลงไว้หรือไม่

2. รัฐที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นว่าผลประโยชน์ของงานในด้านอื่นมีความสำคัญกว่า

3. รัฐที่มีดินแดนติดต่อกันยังไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจหรือการเมืองออกได้อย่างชัดเจน

ที่ผ่าน ๆ มาจนถึงขณะนี้ต้องยอมรับว่าไทยยังไม่มีรัฐบาลใดกล้านำกรณีดังกล่าวกลับเข้า มาเพื่อส่งให้ศาลโลกพิจารณาใหม่ อีกทั้งเรายังไม่มีอิทธิพลเพียงพอที่จะไปล็อบบี้หรือบังคับให้ศาลโลกเปิดศาล ไต่สวนเรื่องนี้ขึ้นมาได้อีก

แต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่กระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลในขณะนี้ ซึ่งนำโดยนายนพดล ปัทมะ จะยื่นสิทธิอันควรในการเรียกร้องหรือพื้นคดีข้อพิพาทกรณี เขาพระวิหาร ในการเรียกร้องสิทธิอันพึ่งมีพึงชอบในผืนแผ่นดินอันควรเป็นของไทยตามหลักสัน ปันน้ำให้แก่รัฐบาลกัมพูชาโดยชอบธรรมและไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ได้อีกตลอดไป โดยไม่สามารถเรียกร้องใด ๆ ได้อีก

นี่ยังไม่รวมถึงการที่กระทรวงต่างประเทศ ของรัฐบาลไทย เป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์ให้ทั่วโลกได้รับรู้โดยทั่วกันนะค่ะ ว่า "เขาพระวิหาร" เป็นของกัมพูชาจริง และได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทย (วะ ฮะ ฮ่า) อย่างน้อยก็ชุดปัจจุบัน

นายนพดล ชี้แจงว่านี่เป็นผลงานอันควรได้รับ "ดอกไม้" มากกว่า "ก้อนหิน" แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ค่ะ ต้องเรียกว่าได้ "ปราสาทหิน" ไปทั้งหลังเลยมากกว่าค่ะ

คุณนพดลคงลืมไปค่ะว่ากรณีที่เราเสียเขาพระวิหารในปี พ.ศ. 2505 นั้น รัฐบาลไทยยังมิได้ลงนามรับรองแผนที่ที่เป็นข้อพิพาทแม้นแต่น้อย แต่ศาลโลกก็พิจารณาให้ไทยต้องเสียดินแดนส่วนนั้นไป เพราะ

ข้อเท็จจริงก็คือ "รัฐบาล มีอำนาจที่จะรับรองผลของการปักปันเส้นเขตแดนที่คลาดเคลื่อนจากแนวสันปันน้ำ (ซึ่งอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 บัญญัติไว้)” กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ การรับรองแผนที่ภาคผนวก 1 โดยรัฐบาลคู่พิพาทเป็นความตกลงระหว่างประเทศฉบับใหม่ ซึ่งมีผลลบล้างข้อความที่ภาคีคู่สัญญาได้ตกลงกันไว้แต่เดิมในอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 นั่นเอง


รัฐบาลสยามมิได้ทักท้วงข้อผิดพลาดดังกล่าว ขณะที่และภายหลังที่ฝรั่งเศสได้ส่งแผนที่ภาคผนวกที่ 1 มาให้สยามพิจารณา จึงไม่อาจอ้างเรื่องการทำแผนที่ผิดพลาด โดยนิ่งเฉย และไม่แสดงท่าทีคัดค้านเส้นเขตแดนทั้งที่ไทยสามารถหลีกเลี่ยงได้ การนิ่งเฉยของไทยนั้นเป็นการกระทำที่มีส่วนก่อให้เกิดความผิดพลาดนี้ขึ้นมา

อ้างอิง : กรณี *เขาพระวิหาร* บทเรียนไทย ที่ไม่เคยจำ
http://www.oknation.net/blog/swongviggit/2008/06/16/entry-2


ประวิติศาสตร์อีกบทหนึ่งของคนไทย



ความสวยงามและยิ่งใหญ่ของปราสาทเขาพระวิหาร
จินตนาการสร้างสรรค์จากความเชื่อ และ น้ำมือของมนุยษ์สู่โลกแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงค์


ดู google map มันลากเส้นเขตแดนตัดผ่านเขาพระวิหารของเราไป

ตามใจเขมร

เจ็บใจจริง

แหกตาคนไทย? เปิดหลักฐาน ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

ทับหลังภาพแกะสลักนูนสูงนารายณ์เกียษณสมุทร
ด้านข้างโคปุระ
ทางเดิน
มุมนี้สวยมาก

อีก

ปารสาทเขาพระวิหารสร้างขึ้นในสมัยสูรยวรรมเทวะ
หรือพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ตามจารึกที่กรอบประตูที่โคปุระชั้นที่ ๒

ปราสาทเขาพระวิหารเป็นศิลปะแบบบัยทายศรี
ซึ่งมีบางส่วนที่คล้ายกับปราสาทนครวัด



แหกตาคนไทย? เปิดหลักฐาน “สุวิทย์” เซ็นเอกสารผูกมัดยอมเขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

เปิดเอกสารมติการประนีประนอมระหว่างไทย-กัมพูชา “สุวิทย์” ไปลงนามยอมรับที่บราซิลรวม 5 ข้อ “ปานเทพ” ถึงบางอ้อเหตุใดเขมรประกาศชัยชนะ ชี้เท่ากับยอมรับเขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และยอมรับการบริหารแผนจัดการพื้นที่ เพราะไม่ปฏิเสธการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานนานาชาติด้วย

***************

มติการประนีประนอมเสนอโดยประธานที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34 (34 com 7B.66)


คณะกรรมการมรดกโลก

‎1. ได้รับเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add3 แล้ว

2. ‎ อ้างถึงมติคณะกรรมการมรดกโลก 31 COM8.24, 32 COM 8B.12 และ 33 COM 7B.65, ได้รับรองการประชุมครั้งที่ 31 (ไครซ์เชิร์ช, ค.ศ. 2007), การประชุมครั้งที่ 32 (ควิเบก, ค.ศ. 2008) และการประชุม ครั้งที่ 33 (เซบีย่า, 2009) ตามลำดับ

3. ‎ แจ้งให้ทราบว่าศูนย์มรดกโลกได้รับเอกสารจากรัฐภาคี (กัมพูชา) แล้ว

4. ‎ สิ่งที่จะดำเนินการต่อไปเพิ่มเติม, ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆโดยรัฐภาคีเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการประสาน งานนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนของปราสาทพระวิหาร

5. ‎ตัดสินใจพิจารณาเอกสารที่ยื่นเสนอโดยรัฐภาคีในการประชุมครั้งที่ 35 ในปี ค.ศ. 2011

ลายเซ็น สุวิทย์ คุณกิตติ 29/07/2010 ซก อาน 29/07/2010 Juca Ferreira BSB 29/07/2010

***************

สำหรับเอกสารดังกล่าว นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและนักวิชาการอิสระผู้ติดตามเรื่องข้อ พิพาทกรณีปราสาทพระวิหารได้ตั้งข้อสังเกตว่า การลงนามในเอกสารดังกล่าวของนายสุวิทย์แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยไม่ปฏิเสธการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกด้วยการไม่ ปฏิเสธหรือคัดค้านมติคณะกรรมการมรดกโลกจากการประชุม 3 ครั้งตามรายละเอียดข้อที่ 2

“ขณะที่ในรายละเอียดข้อ 4 ก็บ่งชี้ว่า แผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารของกัมพูชาสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะประเทศไทยไม่ปฏิเสธการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานนานาชาติ 7 ชาติ จึงมีนัยยะว่าส่งเสริมแผนบริหารจัดการด้วยเช่นกัน” นายปานเทพกล่าว และว่า การยอมรับรายละเอียดในข้ออื่นๆ ก็อาจจะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ ซึ่งเมื่อตนเห็นเอกสารฉบับนี้แล้วก็ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมฝ่ายกัมพูชาถึง ประกาศชัยชนะหลังนายซก อาน เดินทางกลับจากบราซิล

ที่มา

http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000106743

วันเวลามิอาจย้อนคืน

วันเวลามิอาจย้อนคืน ดั่งที่เราชอบคิดชอบพูดและอดีตไม่อาจย้อนกลับคืนมาได้แน่นอนล่ะ แต่เราเลือกที่จะกำหนดแก้ไขวิถึแห่งหนทางที่จะไปสู่อนาคตที่ดีได้
เราจะเลือกเดินเคียงข้างกัน จับมือกันเดินไปข้างหน้าพร้อมกันอย่างมีสติ มีความสามัคคีรักชาติเสียสละเพื่อส่วนรวม ผมคิดว่าประเทศไทยของเราคงจะก้าวไปข้างอย่างมั่นคงและประสบผลสำเร็จดั่งที่ คนไทยทั้งหลายมุ่งหวังเอาไว้

ขออนุญาตนำภาพเหตุการณ์ต่างๆในอดีตที่พอจะรวบร่วมได้มาเผยแพร่ให้ชาวไทยได้ชมกันด้วยนะครับกับความสวยงามของอดีต"เขาพระวิหาร"


ทางขึ้นวิหาร
ขอบคุณเจ้าของภาพด้วยครับ

อีกภาพครับ

บันไดนาคราชสู่วิหารอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู
ลัทธิไศวะนิกาย

ภาพถ่ายทางอากาศ

ภาพแผนที่กราฟฟิคตัวปราสาทเขาพระวิหาร จากthaitopoให้ผู้ที่สนใจชมครับ

มุมมองด้านข้าง

มุมมองด้านข้าง

อีกด้าน

อีกด้าน
ภาพถ่ายทางอากาศ

แสดงเส้นแบ่งตามสันปั้นน้ำ
ปัจ จุปัน ณ ขณะนี้กรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชาจะได้ข้อยุติในการ ประชุมขององค์การยูเนสโก และ ประกาศ ณ เช้าวันที่ 30 กรกฎาคม 2553ให้เลื่อนวาระการประชุมการขออนุญาตให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ไปเป็นปีหน้ามันก็ยังไม่ใช่ชัยชนะของคนไทย
แต่ก็สะท้อนให้เห็นอะไรหลายๆอย่างในประเทศของเราจากผลของการที่เรามั่วแต่ ทะเลาะกันเอง ขาดความสามัคคีของชนในชาติ มัวแต่จะหาประโยชน์ใส่ตนไม่ยอมเสียสละเพื่อส่วนรวมและประเทศชาติ มันทำให้ชาติของเราล้าหลังชาติอื่น ซึ่งชาติต่างๆเหล่านั้นเค้ามองเห็นช่องว่างช่องทางข้อได้เปรียบ
อย่าให้เราต้องอับอายบรรพบุรุษชนชาติไทยที่ยอมเสียสละเลือดเนื้อมาก่อนหน้า นี้ท่านจะนอนตายตาหลับหรือไม่ มีบทเรียนหลายครั้งในประวัติศาสตร์ที่เราควรจดจำไว้เป็นบทเรียน
เราจะเห็นธงชาติไทยปลิวโบกพัดสบัดอย่างภาคภูมิใจ หรือจะเห็นธงชาติอื่นโบกพัดแทนธงชาติไทยของเรา

เขาพระวิหารเป็น "มรดกโลก"

เราต้องเสียเขาพระวิหารให้กับกัมพูชา
เพราะการตัดสินของศาลโลกเมื่อ 15 มิถุนายน 2505
เพราะแผนที่ ที่ทำไว้สมัยกัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
ระบุอาณาเขตชัดเจนว่าเขาพระวิหารอยู่ในเขตแดนของกัมพูชา
ทั้งๆ ที่ทางขึ้นเขาพระวิหารอยู่ในแผ่นดินไทย

ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2502
สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชา
ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
เพื่อเรียกร้องอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทฯ โดยยื่นฟ้องทั้งหมด 73 ครั้ง
ด้วยข้ออ้างที่ว่าชนชาวขอมเป็นผู้สร้างปราสาทนี้ขึ้นมา จึงต้องเป็นขอมสมัยนั้นชาวไทยทุกคนต่างยอมรับไม่ได้
มีการปลุกกระแสรักชาติ เรียกร้องเอาเขาพระวิหารกลับคืน
มีการเรี่ยไรบริจาคเงินสบทบทุนคนละ 1 บาท
เป็นค่าใช้จ่ายให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นำคณะทนายความไปต่อสู้ในศาลโลก
....ก่อนท้ายที่สุดจะตกเป็นของเขมร


ทั้งนี้ การตัดสินของศาลโลก ไม่ได้พิจาณาหลักฐานจากไทยเลยว่า
ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2442
(ค.ศ.1899 หรือ ร.ศ.118)
โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้ทรงค้นพบ
และพระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่ชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า "118 สรรพสิทธิ"
อีกทั้ง กรมศิลปากรยังได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน
โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2483
ผลการตัดสินของศาลโลก มีข้อกำหนด 3 ประการ
ให้รัฐบาลไทยที่มี "จอมพลสฤษด์ ธนะรัตน์"
เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นต้องปฏิบัติตาม คือ

1. ให้ขีดเส้นแบ่งเขตแดนที่จะต้องยกให้กัมพูชาจำนวน 150 ไร่
โดยยึดสันปันน้ำเป็นตัวแบ่งเส้นเขตแดน
(แต่จวบจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้มีการปักปันเขตแดนอย่างเป็นทางการ)

2. ให้คืนโบราณวัตถุแก่กัมพูชาทั้งหมด 50 ชิ้น

3. ให้ถอนทหารและตำรวจของไทย ออกจากพื้นที่เขาพระวิหาร


ณ วันนี้ เขาพระวิหาร
กลับมาอยู่ในกระแสความสนใจอีกครั้ง เมื่อกัมพูชายื่นเรื่องให้ยูเนสโก
ประกาศรับรองเขาพระวิหารเป็น "มรดกโลก" ของประเทศกัมพูชา โดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับไทย มันจึงกลายเป็นข้อพิพาทใหญ่โตเหมือนเมื่อ 50 ปีก่อน
ระหว่างไทยกับกัมพูชา
โดยยูเนสโกจะมีการประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาเห็นชอบในเรื่องนี้ต่อไป
ทางไทยจึงจำเป็นต้องรีบยื่นเรื่องให้ยูเนสโก
ชะลอการอนุมัติให้เขาพระวิหารเป็น "มรดกโลก" ไว้ชั่วคราว
เพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนในอดีต

เนื่องจากที่ตั้งของปราสาทเขาพระวิหาร
เป็นพื้นที่ทับซ้อน ระหว่างไทยกับกัมพูชา
ซึ่งทั้ง 2 ประเทศยังไม่ได้เจรจาปักปันเขตแดนอย่างเป็นทางการ
ดังนั้นหากในเดือนนี้ประชุมใหญ่ของยูเนสโกที่บราซิลอนุมัติเห็นชอบให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว
ก็เท่ากับประเทศไทยต้องเสียดินแดนในส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่!!!!
หากจะประกาศเป็น "มรดกโลก" ทั้ง 2 ประเทศควรต้องเป็นผู้เสนอร่วมกัน
เพราะไทยก็มีสิทธิ์ในเขาพระวิหารครึ่งหนึ่ง
การที่กัมพูชายื่นเรื่องไปแต่เพียงฝ่ายเดียวจึงไม่เป็นการสมควร

จริงอยู่ที่ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารตกเป็นสมบัติของกัมพูชาตามเส้นแบ่ง เขตแดน แต่องคประกอบสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายแห่งของเขาพระวิหาร ยังอยู่ในเขตแดนไทย โดยอยู่ในความดูแลของอุทยานฯ เขาพระวิหาร ไม่ว่าจะเป็นปราสาทโดนตวล บรรณาลัย สถูปคู่ สระตราว และโบราณสถานอื่น ๆ

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของฝ่ายไทย จึงมีความเห็นว่า
"ถ้าจะให้เกิดความสมบูรณ์ทางวิชาการ
และหลักประวัติศาสตร์ของเทวาลัยที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก
จำต้องรวมองค์ประกอบทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน
จึงควรประกาศเป็นพื้นที่มรดกโลกร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา
เพราะต้องมีการทำแผนอนุรักษ์และจัดการพื้นที่หากได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นมรดกโลก
รวมทั้งต้องมีการทำเขตกันชนพื้นที่มรดกโลกระหว่างกัน
โดยก่อนหน้านี้ทางเราเคยมีความพยายามในการเจรจาทางการทูต
แต่กัมพูชาก็ไม่ยอมหารือกับไทย
แต่อยู่ ๆ จะทำเรื่องเสนอเข้าไปอีกครั้ง เราก็คงไม่ยอมเช่นกัน?

คดีเขาพระวิหาร

ปราสาทเขาพระวิหาร
ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นโบราณสถานที่มีความงดงาม โดเด่นอยู่เหนือ
เทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นพรมแดน ระหว่าประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา
มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 657 เมตร อยู่ในเขตการปกครองของ
อำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา
เดิมปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทย ขึ้น
อยู่กับบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ (ค.ศ.1899,ร.ศ.-
118 เมื่อ พ.ศ. 2442) พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

ได้ทรงค้นพบ พระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผา
เป้ยตาดีว่า 118 สรรพสิทธิ จากนั้นอีก 60 ปีต่อมา ประเทสกัมพูชา (นำโดย
สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุ) ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก เพื่อเรียกร้องอำนาจอธิปไตย
เหนือปราวาทเขาพระวิหารคืน (ยื่นฟ้องทั้งมหด 73 ครั้ง) ต่อมาศาลโลกได้
ตัดสินให้อธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชาด้วย
คะแนน 9 ต่อ 3 เสียง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 นับเป็นการเสียดินแดน
ครั้งสุดท้ายของประเทศไทย โดยบริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่

ผลการตัดสินของศาลโลก มีข้อกำหนด 3 ประการ คือ
1. ให้คืนเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่
2. ให้คืนวัตถุโบราณจำนวน 50 ชิ้น
3. ให้ถอนทหารและตำรวจออกจากพื้นที่


คดีเขาพระวิหาร

ที่ตั้งและสภาพทั่วไปของปราสาทเขาพระวิหาร
ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงเล็กหรือดงรัก (ดองแร็กภาษาเขมรแปลว่าภูเขาไม้คา) กั้นพรมแดนไทย-กัมพูชา ตั้งอยู่บนงอยของเอื้อมผาที่สูงตระหง่าน ไม่อาจหาโบราณสถานในวัฒนธรรมเขมรแห่งอื่นใดจักมีความทัดเทียมได้ เดิมตั้งอยู่ที่บ้านภูมิชร็อล ระหว่างช่องโพย (ตะวันตก) กับช่องทะลาย ต.บึงมะลู อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ในราชอาณาจักรไทย
ลำดับเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร
- แผนที่อินโดจีนของชาแบร็ต แอล กัลลัง ซึ่งพิมพ์ก่อนการดำเนินงานของ คณะกรรมการผสมอ้างที่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 แสดงว่าปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตสยาม
- แต่แผนที่ทางโบราณคดีของลูเนต์ เดอ ลาจองกิแยร์ ในปี พ.ศ. 2444 ตีพิมพ์เรื่องบัญชีทะเบียนโบราณสถาน ในปี พ.ศ. 2447 ได้ยืนยันว่า การปักปันเขตแดนครั้งสุดท้าย ทำให้เปรียะวิเชียรหรือเขาพระวิหารตกมาเป็นของฝรั่งเศส
- แต่ในช่วงเวลานี้ราชอาณาจักรสยามยังใช้อำนาจปกครองเขาพระวิหารต่อไป
- 11 ต.ค. 2483 กรมศิลปากรของราชอาณาจักรไทย (เปลี่ยนจากสยามในช่วงนี้) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ต่อมา 4 ธ.ค. 2502 ไทยประกาศขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานแห่งชาติอีกครั้งพร้อมทั้งมี แผนที่แสดงปราสาทเขาพระวิหารแนบท้าย
- ปี พ.ศ 2492 ฝรั่งเศส ริเริ่มและด้วยความเห็นชอบของกัมพูชาได้มีการคัดค้านอำนาจอธิปไตยของไทย เหนือเขาพระวิหารอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก ฝรั่งเศสประท้วงว่าไทยไม่ควรส่งคนไปรักษาปราสาทเขาพระวิหาร
- กัมพูชาเริ่มเรียกร้องให้เขาพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชา เริ่มเป็นทางการ พ.ศ. 2501
- 1 ธ.ค. 2501 กัมพูชาตัดความสัมพันธ์ทางการฑูตกับไทย
** - 6 ต.ค. 2502 รัฐบาลกัมพูชายื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกขอให้ศาล วินิจฉัยให้ราชอาณาจักรไทยถอนกำลังหรืออาวุธออกจากบริเวณเขาพระวิหาร และขอให้ศาลชี้ขาดว่าอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา

ปัญหาที่เกี่ยวกับการปักปันเส้นเขตแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัญหาเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศอาจถูกระงับไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะ
1. รัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีเทคนิคของการสำรวจพื้นที่ที่ดีพอหรือไม่สามารถนำ เทคนิคเหล่านี้ไปใช้เพื่อตรวจว่าเส้นเขตแดนปัจจุบันถูกต้องตรงตามที่ตนได้ทำ ความตกลงไว้หรือไม่
2. รัฐที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นว่าผลประโยชน์ของงานในด้านอื่นมีความสำคัญกว่า
3. รัฐที่มีดินแดนติดต่อกันยังไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจหรือการเมืองออกได้อย่างชัดเจน
- คดีปราสาทเขาพระวิหาร มาจากผลสืบเนื่องของอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และ ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450)
- ตามข้อกำหนดในอนุสัญญา ค.ศ. 1904 ( พ.ศ. 2447) ข้อ 1 และข้อ 3 กำหนดไว้ดังนี้
"ข้อ 1 เขตแดนระหว่างประเทศสยามกับกประเทศกัมพูชาเริ่มต้นบนฝั่งซ้ายของทะเลสาปจาก ปากแม่น้ำสะตุง โรลูโอส….ฯลฯ ……จนถึงทิวเขาดงรัก จากที่นั้นเส้นเขตแดนคือสันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำของแม่น้ำเสนและแม่น้ำโขง ด้านหนึ่งกับแม่น้ำมูลอีกด้านหนึ่ง…………."
"ข้อ 3 ให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดนที่ประกอบเป็นอินโดจีน ฝรั่งเศส การปักปันนี้ให้กระทำโดยคณะกรรมการผสมประกอบด้วยพนักงานซึ่งประเทศภาคีทั้ง สองแต่งตั้ง งานของคณะกรรมการจะเกี่ยวกับเขตแดนส่วนที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 ………."
คณะกรรมการผสมได้ดำเนินการปักปันเส้นเขตแดนจนเกือบจะแล้วเสร็จ แต่สยามกับฝรั่งเศสได้ชิงลงนามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1907 ไปก่อน จึงยังไม่ได้มีการทำแผนที่สมบูรณ์ให้รัฐบาลทั้งสองฝ่ายลงนามรับรองแต่อย่าง ใด ต่อมาฝรั่งเศสได้ดำเนินการตีพิมพ์แผนที่ซึ่งรัฐบาลสยามยังไม่ได้รับรองอย่าง เป็นทางการนั้น โดยได้จัดพิมพ์แต่เพียงฝ่ายเดียวที่กรุงปารีส แล้วจึงส่งแผนที่จำนวน 11 ท่อน มาให้รัฐบาลสยามในจำนวนนี้มีแผนที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับดินแดนบริเวณเขาพระ วิหารด้วยฉบับหนึ่ง รัฐบาลสยามมิได้รับรองแผนที่ดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แผนที่ดังกล่าวกำหนดเส้นเขตแดนบนภูเขาดงรักเรียกว่า "แผ่นดงรัก" (ไทยประท้วงว่าไม่ได้ผ่านความเห็นชอบและการพิจารณาของคณะกรรมการผสม) ดังนั้น หากยึดตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) ก็จะต้องกำหนดตามเขตแดนธรรมชาติคือ สันปันน้ำ ซึ่งไทยยืนยันว่าสันปันน้ำปันเขาพระวิหารมาไว้ในอาณาเขตไทย แต่แผนที่ทำขึ้นกำหนดปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในกัมพูชา
- กัมพูชาอ้างว่าต้นฉบับแผนที่นี้พิมพ์โดยอาศัยอำนาจมอบหมายจากคณะกรรมการผสม มีไทยฝรั่งเศส ได้มีการส่งแผนที่ไปให้รัฐบาลสยามจำนวน 50 ฉบับ เสนาบดีมหาดไทยทรงตอบรับใน พ.ศ. 2451 กับขอเพิ่มเติมอีก 15 ชุด เพื่อไปแจกจ่ายแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหาร
กัมพูชาเป็นโจทก์ยื่นฟ้องไทยต่อศาลโลกหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เป็นเรื่องการอ้างอธิปไตยของคู่กรณีเหนือดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของซากปราสาท พระวิหาร ตั้งอยู่บนเทือกเขา ซึ่งเป็นผืนดินที่ต่อเนื่องออกไปจากแผ่นดินของประเทศไทยในบริเวณเทือกเขา ดงรักและหักลงสู่พื้นที่ราบลุ่มในกัมพูชา ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับเขาพระวิหารมาก
ก่อนหน้าที่กัมพูชาจะเสนอข้อพิพาทนี้ สนธิสัญญา พ.ศ. 2410 ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ได้แบ่งเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนให้อยู่ต่ำกว่าบริเวณซากปราสาทพระ วิหาร ต่อมาฝรั่งเศสเห็นว่าการปักปันเส้นเขตแดนยังไม่ดีพอ

กรณีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก


กรณีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
กัมพูชาได้เสนอให้ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นมรดกโลกต่อองค์การยู เนสโก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ณ เมืองไครสเชิร์ช นิวซีแลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2550 แต่ไทยกับกัมพูชามีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งฝ่ายไทยกล่าวว่าควรแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่เขตแดนทับซ้อนรอบปราสาทก่อน แล้วจึงค่อยเสนอ จนกระทั่งใกล้ถึงการประชุมสมัยที่ 32 ที่แคนาดา ในปีถัดมา ก็ยังไม่ได้ข้อตกลงร่วมกัน และถ้าหากเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยอ้างอิงจากแผนที่ ที่ฝรั่งเศสทำ จะทำให้ไทยต้องเสียดินแดนถอยร่นเข้ามาประมาณ 7.2 ตารางกิโลเมตร
วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร เนื่องจากไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ทับซ้อนเขาพระวิหารให้กับประชาชนคนไทยได้รับ รู้ หลังจากตกลงร่วมกับประเทศกัมพูชาไปก่อนหน้านี้นั้น
เวลา 14.00 น. นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายสุวัตร อภัยภักดิ์ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และ คณะ รวม 9 คน เป็นตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด
วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมนักวิชาการ เดินทางมาพบ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อรับมอบรายชื่อผู้คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งในส่วนของพันธมิตรฯ ได้มีการมอบรายชื่อให้กับทางสถาบันไทยคดีศึกษาไปแล้ว 6,000 รายชื่อ และวันที่ 27 มิถุนายน มอบให้อีก 3,488 รายชื่อ ซึ่งล่าสุดตัวเลขของผู้ที่คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารมีทั้งหมด 33,400 รายชื่อ ภายหลังจากที่มีการรับมอบรายชื่อจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรแล้ว ม.ล.วัลวิภา ยังได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านเรื่องนี้ ต่อนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย
วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือ ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ศาลได้ไต่สวนฉุกเฉินคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และใช้เวลาไต่สวนกว่า 10 ชั่วโมง จนมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อเวลา 02.00 น. ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังนี้
1.ให้เพิกถอนการกระทำของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เสนอร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
2.เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่มีมติเห็นชอบร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ โดยมอบหมายให้นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ฯ
3.ให้เพิกถอนการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551

4.มีคำสั่งให้นายนพดล ปัทมะ ยุติความผูกพันตามคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อประเทศกัมพูชาและองค์การยูเนสโก


ลำดับเหตุการณ์

- พ.ศ. 2442 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ค้นพบปราสาทพระวิหาร
- พ.ศ. 2447 ประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีน ได้ทำสนธิสัญญาปักปันเขตแดน ระบุให้ ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย
- พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้ไทย มีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลไทยในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้อง
- พ.ศ. 2479 ไทยขอปรับปรุงเขตแดน แต่ฝรั่งเศสผัดผ่อน
- พ.ศ. 2482 ไทยขอปรับปรุงเขตแดนกับฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ตกลงกันไม่ได้
- พ.ศ. 2484 อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ดินแดนที่เสียไปเมื่อ ร.ศ. 123 และ ร.ศ. 126 บางส่วน รวมถึงปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทย
- พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการยกเลิกอนุสัญญาโตเกียวโดยสนธิสัญญาประนีประนอม โดยมีอเมริกา, อังกฤษ และเปรูเข้ามาไกล่เกลี่ย
- พ.ศ. 2492 ประเทศไทยเข้าครอบครองปราสาทพระวิหาร โดยใช้หลักสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน
- พ.ศ. 2493 กัมพูชาเป็นเอกราชจากฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2501 กัมพูชาเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร
- พ.ศ. 2502 กัมพูชาฟ้องร้องต่อศาลโลก
- พ.ศ. 2505 ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง 9 ต่อ 3
- พ.ศ. 2550 กัมพูชาเสนอองค์การยูเนสโก ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ยังไม่มีข้อสรุป
- 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ทางการกัมพูชาปิดปราสาทเขาพระวิหารชั่วคราว หวั่นผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปทำร้ายชาวกัมพูชาในบริเวณใกล้เคียง
- 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือ ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น