Saturday, April 20, 2013

ภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ศาลโลกระหว่างไทยกับกัมพูชาเมื่อ 46 ปีก่อน


ผมขออนุญาตนำภาพเหตุการณ์ในอดีตมาให้ชมเป็นภาพจากหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยในยุคนั้น
ภาพเหตุการณ์ในอดีตจากหนังสือพิมพ์สยามนิกร



ภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ศาลโลกกรณีข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาเมื่อ 46 ปีก่อน
ที่มีลายพระหัตถ์ของอดีตกษัตริย์นโรดมสีหนุกำกับ

แน่นอน ว่าคำพิพากษาดังกล่าวได้มีผลใช้บังคับในทันที และไทยได้เสีย "เขาพระวิหาร" ให้แก่กัมพูชาไปตั้งแต่บัดนั้นมา แต่อย่างไรก็ตามเรายังมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะรื้อฟื้นคดีดังกล่าว ไม่ว่าจะนานสักเพียงใด สาเหตุเพราะปัญหาเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศอาจถูกระงับไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจาก

1. รัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีเทคนิคของการสำรวจพื้นที่ที่ดีพอหรือไม่สามารถนำ เทคนิคเหล่านี้ไปใช้เพื่อตรวจว่าเส้นเขตแดนปัจจุบันถูกต้องตรงตามที่ตนได้ทำ ความตกลงไว้หรือไม่

2. รัฐที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นว่าผลประโยชน์ของงานในด้านอื่นมีความสำคัญกว่า

3. รัฐที่มีดินแดนติดต่อกันยังไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจหรือการเมืองออกได้อย่างชัดเจน

ที่ผ่าน ๆ มาจนถึงขณะนี้ต้องยอมรับว่าไทยยังไม่มีรัฐบาลใดกล้านำกรณีดังกล่าวกลับเข้า มาเพื่อส่งให้ศาลโลกพิจารณาใหม่ อีกทั้งเรายังไม่มีอิทธิพลเพียงพอที่จะไปล็อบบี้หรือบังคับให้ศาลโลกเปิดศาล ไต่สวนเรื่องนี้ขึ้นมาได้อีก

แต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่กระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลในขณะนี้ ซึ่งนำโดยนายนพดล ปัทมะ จะยื่นสิทธิอันควรในการเรียกร้องหรือพื้นคดีข้อพิพาทกรณี เขาพระวิหาร ในการเรียกร้องสิทธิอันพึ่งมีพึงชอบในผืนแผ่นดินอันควรเป็นของไทยตามหลักสัน ปันน้ำให้แก่รัฐบาลกัมพูชาโดยชอบธรรมและไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ได้อีกตลอดไป โดยไม่สามารถเรียกร้องใด ๆ ได้อีก

นี่ยังไม่รวมถึงการที่กระทรวงต่างประเทศ ของรัฐบาลไทย เป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์ให้ทั่วโลกได้รับรู้โดยทั่วกันนะค่ะ ว่า "เขาพระวิหาร" เป็นของกัมพูชาจริง และได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทย (วะ ฮะ ฮ่า) อย่างน้อยก็ชุดปัจจุบัน

นายนพดล ชี้แจงว่านี่เป็นผลงานอันควรได้รับ "ดอกไม้" มากกว่า "ก้อนหิน" แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ค่ะ ต้องเรียกว่าได้ "ปราสาทหิน" ไปทั้งหลังเลยมากกว่าค่ะ

คุณนพดลคงลืมไปค่ะว่ากรณีที่เราเสียเขาพระวิหารในปี พ.ศ. 2505 นั้น รัฐบาลไทยยังมิได้ลงนามรับรองแผนที่ที่เป็นข้อพิพาทแม้นแต่น้อย แต่ศาลโลกก็พิจารณาให้ไทยต้องเสียดินแดนส่วนนั้นไป เพราะ

ข้อเท็จจริงก็คือ "รัฐบาล มีอำนาจที่จะรับรองผลของการปักปันเส้นเขตแดนที่คลาดเคลื่อนจากแนวสันปันน้ำ (ซึ่งอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 บัญญัติไว้)” กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ การรับรองแผนที่ภาคผนวก 1 โดยรัฐบาลคู่พิพาทเป็นความตกลงระหว่างประเทศฉบับใหม่ ซึ่งมีผลลบล้างข้อความที่ภาคีคู่สัญญาได้ตกลงกันไว้แต่เดิมในอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 นั่นเอง


รัฐบาลสยามมิได้ทักท้วงข้อผิดพลาดดังกล่าว ขณะที่และภายหลังที่ฝรั่งเศสได้ส่งแผนที่ภาคผนวกที่ 1 มาให้สยามพิจารณา จึงไม่อาจอ้างเรื่องการทำแผนที่ผิดพลาด โดยนิ่งเฉย และไม่แสดงท่าทีคัดค้านเส้นเขตแดนทั้งที่ไทยสามารถหลีกเลี่ยงได้ การนิ่งเฉยของไทยนั้นเป็นการกระทำที่มีส่วนก่อให้เกิดความผิดพลาดนี้ขึ้นมา

อ้างอิง : กรณี *เขาพระวิหาร* บทเรียนไทย ที่ไม่เคยจำ
http://www.oknation.net/blog/swongviggit/2008/06/16/entry-2


ประวิติศาสตร์อีกบทหนึ่งของคนไทย



ความสวยงามและยิ่งใหญ่ของปราสาทเขาพระวิหาร
จินตนาการสร้างสรรค์จากความเชื่อ และ น้ำมือของมนุยษ์สู่โลกแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงค์


ดู google map มันลากเส้นเขตแดนตัดผ่านเขาพระวิหารของเราไป

ตามใจเขมร

เจ็บใจจริง

แหกตาคนไทย? เปิดหลักฐาน ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

ทับหลังภาพแกะสลักนูนสูงนารายณ์เกียษณสมุทร
ด้านข้างโคปุระ
ทางเดิน
มุมนี้สวยมาก

อีก

ปารสาทเขาพระวิหารสร้างขึ้นในสมัยสูรยวรรมเทวะ
หรือพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ตามจารึกที่กรอบประตูที่โคปุระชั้นที่ ๒

ปราสาทเขาพระวิหารเป็นศิลปะแบบบัยทายศรี
ซึ่งมีบางส่วนที่คล้ายกับปราสาทนครวัด



แหกตาคนไทย? เปิดหลักฐาน “สุวิทย์” เซ็นเอกสารผูกมัดยอมเขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

เปิดเอกสารมติการประนีประนอมระหว่างไทย-กัมพูชา “สุวิทย์” ไปลงนามยอมรับที่บราซิลรวม 5 ข้อ “ปานเทพ” ถึงบางอ้อเหตุใดเขมรประกาศชัยชนะ ชี้เท่ากับยอมรับเขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และยอมรับการบริหารแผนจัดการพื้นที่ เพราะไม่ปฏิเสธการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานนานาชาติด้วย

***************

มติการประนีประนอมเสนอโดยประธานที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34 (34 com 7B.66)


คณะกรรมการมรดกโลก

‎1. ได้รับเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add3 แล้ว

2. ‎ อ้างถึงมติคณะกรรมการมรดกโลก 31 COM8.24, 32 COM 8B.12 และ 33 COM 7B.65, ได้รับรองการประชุมครั้งที่ 31 (ไครซ์เชิร์ช, ค.ศ. 2007), การประชุมครั้งที่ 32 (ควิเบก, ค.ศ. 2008) และการประชุม ครั้งที่ 33 (เซบีย่า, 2009) ตามลำดับ

3. ‎ แจ้งให้ทราบว่าศูนย์มรดกโลกได้รับเอกสารจากรัฐภาคี (กัมพูชา) แล้ว

4. ‎ สิ่งที่จะดำเนินการต่อไปเพิ่มเติม, ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆโดยรัฐภาคีเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการประสาน งานนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนของปราสาทพระวิหาร

5. ‎ตัดสินใจพิจารณาเอกสารที่ยื่นเสนอโดยรัฐภาคีในการประชุมครั้งที่ 35 ในปี ค.ศ. 2011

ลายเซ็น สุวิทย์ คุณกิตติ 29/07/2010 ซก อาน 29/07/2010 Juca Ferreira BSB 29/07/2010

***************

สำหรับเอกสารดังกล่าว นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและนักวิชาการอิสระผู้ติดตามเรื่องข้อ พิพาทกรณีปราสาทพระวิหารได้ตั้งข้อสังเกตว่า การลงนามในเอกสารดังกล่าวของนายสุวิทย์แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยไม่ปฏิเสธการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกด้วยการไม่ ปฏิเสธหรือคัดค้านมติคณะกรรมการมรดกโลกจากการประชุม 3 ครั้งตามรายละเอียดข้อที่ 2

“ขณะที่ในรายละเอียดข้อ 4 ก็บ่งชี้ว่า แผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารของกัมพูชาสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะประเทศไทยไม่ปฏิเสธการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานนานาชาติ 7 ชาติ จึงมีนัยยะว่าส่งเสริมแผนบริหารจัดการด้วยเช่นกัน” นายปานเทพกล่าว และว่า การยอมรับรายละเอียดในข้ออื่นๆ ก็อาจจะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ ซึ่งเมื่อตนเห็นเอกสารฉบับนี้แล้วก็ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมฝ่ายกัมพูชาถึง ประกาศชัยชนะหลังนายซก อาน เดินทางกลับจากบราซิล

ที่มา

http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000106743

วันเวลามิอาจย้อนคืน

วันเวลามิอาจย้อนคืน ดั่งที่เราชอบคิดชอบพูดและอดีตไม่อาจย้อนกลับคืนมาได้แน่นอนล่ะ แต่เราเลือกที่จะกำหนดแก้ไขวิถึแห่งหนทางที่จะไปสู่อนาคตที่ดีได้
เราจะเลือกเดินเคียงข้างกัน จับมือกันเดินไปข้างหน้าพร้อมกันอย่างมีสติ มีความสามัคคีรักชาติเสียสละเพื่อส่วนรวม ผมคิดว่าประเทศไทยของเราคงจะก้าวไปข้างอย่างมั่นคงและประสบผลสำเร็จดั่งที่ คนไทยทั้งหลายมุ่งหวังเอาไว้

ขออนุญาตนำภาพเหตุการณ์ต่างๆในอดีตที่พอจะรวบร่วมได้มาเผยแพร่ให้ชาวไทยได้ชมกันด้วยนะครับกับความสวยงามของอดีต"เขาพระวิหาร"


ทางขึ้นวิหาร
ขอบคุณเจ้าของภาพด้วยครับ

อีกภาพครับ

บันไดนาคราชสู่วิหารอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู
ลัทธิไศวะนิกาย

ภาพถ่ายทางอากาศ

ภาพแผนที่กราฟฟิคตัวปราสาทเขาพระวิหาร จากthaitopoให้ผู้ที่สนใจชมครับ

มุมมองด้านข้าง

มุมมองด้านข้าง

อีกด้าน

อีกด้าน
ภาพถ่ายทางอากาศ

แสดงเส้นแบ่งตามสันปั้นน้ำ
ปัจ จุปัน ณ ขณะนี้กรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชาจะได้ข้อยุติในการ ประชุมขององค์การยูเนสโก และ ประกาศ ณ เช้าวันที่ 30 กรกฎาคม 2553ให้เลื่อนวาระการประชุมการขออนุญาตให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ไปเป็นปีหน้ามันก็ยังไม่ใช่ชัยชนะของคนไทย
แต่ก็สะท้อนให้เห็นอะไรหลายๆอย่างในประเทศของเราจากผลของการที่เรามั่วแต่ ทะเลาะกันเอง ขาดความสามัคคีของชนในชาติ มัวแต่จะหาประโยชน์ใส่ตนไม่ยอมเสียสละเพื่อส่วนรวมและประเทศชาติ มันทำให้ชาติของเราล้าหลังชาติอื่น ซึ่งชาติต่างๆเหล่านั้นเค้ามองเห็นช่องว่างช่องทางข้อได้เปรียบ
อย่าให้เราต้องอับอายบรรพบุรุษชนชาติไทยที่ยอมเสียสละเลือดเนื้อมาก่อนหน้า นี้ท่านจะนอนตายตาหลับหรือไม่ มีบทเรียนหลายครั้งในประวัติศาสตร์ที่เราควรจดจำไว้เป็นบทเรียน
เราจะเห็นธงชาติไทยปลิวโบกพัดสบัดอย่างภาคภูมิใจ หรือจะเห็นธงชาติอื่นโบกพัดแทนธงชาติไทยของเรา

เขาพระวิหารเป็น "มรดกโลก"

เราต้องเสียเขาพระวิหารให้กับกัมพูชา
เพราะการตัดสินของศาลโลกเมื่อ 15 มิถุนายน 2505
เพราะแผนที่ ที่ทำไว้สมัยกัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
ระบุอาณาเขตชัดเจนว่าเขาพระวิหารอยู่ในเขตแดนของกัมพูชา
ทั้งๆ ที่ทางขึ้นเขาพระวิหารอยู่ในแผ่นดินไทย

ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2502
สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชา
ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
เพื่อเรียกร้องอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทฯ โดยยื่นฟ้องทั้งหมด 73 ครั้ง
ด้วยข้ออ้างที่ว่าชนชาวขอมเป็นผู้สร้างปราสาทนี้ขึ้นมา จึงต้องเป็นขอมสมัยนั้นชาวไทยทุกคนต่างยอมรับไม่ได้
มีการปลุกกระแสรักชาติ เรียกร้องเอาเขาพระวิหารกลับคืน
มีการเรี่ยไรบริจาคเงินสบทบทุนคนละ 1 บาท
เป็นค่าใช้จ่ายให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นำคณะทนายความไปต่อสู้ในศาลโลก
....ก่อนท้ายที่สุดจะตกเป็นของเขมร


ทั้งนี้ การตัดสินของศาลโลก ไม่ได้พิจาณาหลักฐานจากไทยเลยว่า
ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2442
(ค.ศ.1899 หรือ ร.ศ.118)
โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้ทรงค้นพบ
และพระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่ชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า "118 สรรพสิทธิ"
อีกทั้ง กรมศิลปากรยังได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน
โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2483
ผลการตัดสินของศาลโลก มีข้อกำหนด 3 ประการ
ให้รัฐบาลไทยที่มี "จอมพลสฤษด์ ธนะรัตน์"
เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นต้องปฏิบัติตาม คือ

1. ให้ขีดเส้นแบ่งเขตแดนที่จะต้องยกให้กัมพูชาจำนวน 150 ไร่
โดยยึดสันปันน้ำเป็นตัวแบ่งเส้นเขตแดน
(แต่จวบจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้มีการปักปันเขตแดนอย่างเป็นทางการ)

2. ให้คืนโบราณวัตถุแก่กัมพูชาทั้งหมด 50 ชิ้น

3. ให้ถอนทหารและตำรวจของไทย ออกจากพื้นที่เขาพระวิหาร


ณ วันนี้ เขาพระวิหาร
กลับมาอยู่ในกระแสความสนใจอีกครั้ง เมื่อกัมพูชายื่นเรื่องให้ยูเนสโก
ประกาศรับรองเขาพระวิหารเป็น "มรดกโลก" ของประเทศกัมพูชา โดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับไทย มันจึงกลายเป็นข้อพิพาทใหญ่โตเหมือนเมื่อ 50 ปีก่อน
ระหว่างไทยกับกัมพูชา
โดยยูเนสโกจะมีการประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาเห็นชอบในเรื่องนี้ต่อไป
ทางไทยจึงจำเป็นต้องรีบยื่นเรื่องให้ยูเนสโก
ชะลอการอนุมัติให้เขาพระวิหารเป็น "มรดกโลก" ไว้ชั่วคราว
เพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนในอดีต

เนื่องจากที่ตั้งของปราสาทเขาพระวิหาร
เป็นพื้นที่ทับซ้อน ระหว่างไทยกับกัมพูชา
ซึ่งทั้ง 2 ประเทศยังไม่ได้เจรจาปักปันเขตแดนอย่างเป็นทางการ
ดังนั้นหากในเดือนนี้ประชุมใหญ่ของยูเนสโกที่บราซิลอนุมัติเห็นชอบให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว
ก็เท่ากับประเทศไทยต้องเสียดินแดนในส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่!!!!
หากจะประกาศเป็น "มรดกโลก" ทั้ง 2 ประเทศควรต้องเป็นผู้เสนอร่วมกัน
เพราะไทยก็มีสิทธิ์ในเขาพระวิหารครึ่งหนึ่ง
การที่กัมพูชายื่นเรื่องไปแต่เพียงฝ่ายเดียวจึงไม่เป็นการสมควร

จริงอยู่ที่ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารตกเป็นสมบัติของกัมพูชาตามเส้นแบ่ง เขตแดน แต่องคประกอบสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายแห่งของเขาพระวิหาร ยังอยู่ในเขตแดนไทย โดยอยู่ในความดูแลของอุทยานฯ เขาพระวิหาร ไม่ว่าจะเป็นปราสาทโดนตวล บรรณาลัย สถูปคู่ สระตราว และโบราณสถานอื่น ๆ

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของฝ่ายไทย จึงมีความเห็นว่า
"ถ้าจะให้เกิดความสมบูรณ์ทางวิชาการ
และหลักประวัติศาสตร์ของเทวาลัยที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก
จำต้องรวมองค์ประกอบทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน
จึงควรประกาศเป็นพื้นที่มรดกโลกร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา
เพราะต้องมีการทำแผนอนุรักษ์และจัดการพื้นที่หากได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นมรดกโลก
รวมทั้งต้องมีการทำเขตกันชนพื้นที่มรดกโลกระหว่างกัน
โดยก่อนหน้านี้ทางเราเคยมีความพยายามในการเจรจาทางการทูต
แต่กัมพูชาก็ไม่ยอมหารือกับไทย
แต่อยู่ ๆ จะทำเรื่องเสนอเข้าไปอีกครั้ง เราก็คงไม่ยอมเช่นกัน?

คดีเขาพระวิหาร

ปราสาทเขาพระวิหาร
ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นโบราณสถานที่มีความงดงาม โดเด่นอยู่เหนือ
เทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นพรมแดน ระหว่าประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา
มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 657 เมตร อยู่ในเขตการปกครองของ
อำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา
เดิมปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทย ขึ้น
อยู่กับบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ (ค.ศ.1899,ร.ศ.-
118 เมื่อ พ.ศ. 2442) พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

ได้ทรงค้นพบ พระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผา
เป้ยตาดีว่า 118 สรรพสิทธิ จากนั้นอีก 60 ปีต่อมา ประเทสกัมพูชา (นำโดย
สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุ) ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก เพื่อเรียกร้องอำนาจอธิปไตย
เหนือปราวาทเขาพระวิหารคืน (ยื่นฟ้องทั้งมหด 73 ครั้ง) ต่อมาศาลโลกได้
ตัดสินให้อธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชาด้วย
คะแนน 9 ต่อ 3 เสียง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 นับเป็นการเสียดินแดน
ครั้งสุดท้ายของประเทศไทย โดยบริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่

ผลการตัดสินของศาลโลก มีข้อกำหนด 3 ประการ คือ
1. ให้คืนเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่
2. ให้คืนวัตถุโบราณจำนวน 50 ชิ้น
3. ให้ถอนทหารและตำรวจออกจากพื้นที่


คดีเขาพระวิหาร

ที่ตั้งและสภาพทั่วไปของปราสาทเขาพระวิหาร
ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงเล็กหรือดงรัก (ดองแร็กภาษาเขมรแปลว่าภูเขาไม้คา) กั้นพรมแดนไทย-กัมพูชา ตั้งอยู่บนงอยของเอื้อมผาที่สูงตระหง่าน ไม่อาจหาโบราณสถานในวัฒนธรรมเขมรแห่งอื่นใดจักมีความทัดเทียมได้ เดิมตั้งอยู่ที่บ้านภูมิชร็อล ระหว่างช่องโพย (ตะวันตก) กับช่องทะลาย ต.บึงมะลู อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ในราชอาณาจักรไทย
ลำดับเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร
- แผนที่อินโดจีนของชาแบร็ต แอล กัลลัง ซึ่งพิมพ์ก่อนการดำเนินงานของ คณะกรรมการผสมอ้างที่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 แสดงว่าปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตสยาม
- แต่แผนที่ทางโบราณคดีของลูเนต์ เดอ ลาจองกิแยร์ ในปี พ.ศ. 2444 ตีพิมพ์เรื่องบัญชีทะเบียนโบราณสถาน ในปี พ.ศ. 2447 ได้ยืนยันว่า การปักปันเขตแดนครั้งสุดท้าย ทำให้เปรียะวิเชียรหรือเขาพระวิหารตกมาเป็นของฝรั่งเศส
- แต่ในช่วงเวลานี้ราชอาณาจักรสยามยังใช้อำนาจปกครองเขาพระวิหารต่อไป
- 11 ต.ค. 2483 กรมศิลปากรของราชอาณาจักรไทย (เปลี่ยนจากสยามในช่วงนี้) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ต่อมา 4 ธ.ค. 2502 ไทยประกาศขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานแห่งชาติอีกครั้งพร้อมทั้งมี แผนที่แสดงปราสาทเขาพระวิหารแนบท้าย
- ปี พ.ศ 2492 ฝรั่งเศส ริเริ่มและด้วยความเห็นชอบของกัมพูชาได้มีการคัดค้านอำนาจอธิปไตยของไทย เหนือเขาพระวิหารอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก ฝรั่งเศสประท้วงว่าไทยไม่ควรส่งคนไปรักษาปราสาทเขาพระวิหาร
- กัมพูชาเริ่มเรียกร้องให้เขาพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชา เริ่มเป็นทางการ พ.ศ. 2501
- 1 ธ.ค. 2501 กัมพูชาตัดความสัมพันธ์ทางการฑูตกับไทย
** - 6 ต.ค. 2502 รัฐบาลกัมพูชายื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกขอให้ศาล วินิจฉัยให้ราชอาณาจักรไทยถอนกำลังหรืออาวุธออกจากบริเวณเขาพระวิหาร และขอให้ศาลชี้ขาดว่าอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา

ปัญหาที่เกี่ยวกับการปักปันเส้นเขตแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัญหาเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศอาจถูกระงับไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะ
1. รัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีเทคนิคของการสำรวจพื้นที่ที่ดีพอหรือไม่สามารถนำ เทคนิคเหล่านี้ไปใช้เพื่อตรวจว่าเส้นเขตแดนปัจจุบันถูกต้องตรงตามที่ตนได้ทำ ความตกลงไว้หรือไม่
2. รัฐที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นว่าผลประโยชน์ของงานในด้านอื่นมีความสำคัญกว่า
3. รัฐที่มีดินแดนติดต่อกันยังไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจหรือการเมืองออกได้อย่างชัดเจน
- คดีปราสาทเขาพระวิหาร มาจากผลสืบเนื่องของอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และ ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450)
- ตามข้อกำหนดในอนุสัญญา ค.ศ. 1904 ( พ.ศ. 2447) ข้อ 1 และข้อ 3 กำหนดไว้ดังนี้
"ข้อ 1 เขตแดนระหว่างประเทศสยามกับกประเทศกัมพูชาเริ่มต้นบนฝั่งซ้ายของทะเลสาปจาก ปากแม่น้ำสะตุง โรลูโอส….ฯลฯ ……จนถึงทิวเขาดงรัก จากที่นั้นเส้นเขตแดนคือสันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำของแม่น้ำเสนและแม่น้ำโขง ด้านหนึ่งกับแม่น้ำมูลอีกด้านหนึ่ง…………."
"ข้อ 3 ให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดนที่ประกอบเป็นอินโดจีน ฝรั่งเศส การปักปันนี้ให้กระทำโดยคณะกรรมการผสมประกอบด้วยพนักงานซึ่งประเทศภาคีทั้ง สองแต่งตั้ง งานของคณะกรรมการจะเกี่ยวกับเขตแดนส่วนที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 ………."
คณะกรรมการผสมได้ดำเนินการปักปันเส้นเขตแดนจนเกือบจะแล้วเสร็จ แต่สยามกับฝรั่งเศสได้ชิงลงนามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1907 ไปก่อน จึงยังไม่ได้มีการทำแผนที่สมบูรณ์ให้รัฐบาลทั้งสองฝ่ายลงนามรับรองแต่อย่าง ใด ต่อมาฝรั่งเศสได้ดำเนินการตีพิมพ์แผนที่ซึ่งรัฐบาลสยามยังไม่ได้รับรองอย่าง เป็นทางการนั้น โดยได้จัดพิมพ์แต่เพียงฝ่ายเดียวที่กรุงปารีส แล้วจึงส่งแผนที่จำนวน 11 ท่อน มาให้รัฐบาลสยามในจำนวนนี้มีแผนที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับดินแดนบริเวณเขาพระ วิหารด้วยฉบับหนึ่ง รัฐบาลสยามมิได้รับรองแผนที่ดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แผนที่ดังกล่าวกำหนดเส้นเขตแดนบนภูเขาดงรักเรียกว่า "แผ่นดงรัก" (ไทยประท้วงว่าไม่ได้ผ่านความเห็นชอบและการพิจารณาของคณะกรรมการผสม) ดังนั้น หากยึดตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) ก็จะต้องกำหนดตามเขตแดนธรรมชาติคือ สันปันน้ำ ซึ่งไทยยืนยันว่าสันปันน้ำปันเขาพระวิหารมาไว้ในอาณาเขตไทย แต่แผนที่ทำขึ้นกำหนดปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในกัมพูชา
- กัมพูชาอ้างว่าต้นฉบับแผนที่นี้พิมพ์โดยอาศัยอำนาจมอบหมายจากคณะกรรมการผสม มีไทยฝรั่งเศส ได้มีการส่งแผนที่ไปให้รัฐบาลสยามจำนวน 50 ฉบับ เสนาบดีมหาดไทยทรงตอบรับใน พ.ศ. 2451 กับขอเพิ่มเติมอีก 15 ชุด เพื่อไปแจกจ่ายแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหาร
กัมพูชาเป็นโจทก์ยื่นฟ้องไทยต่อศาลโลกหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เป็นเรื่องการอ้างอธิปไตยของคู่กรณีเหนือดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของซากปราสาท พระวิหาร ตั้งอยู่บนเทือกเขา ซึ่งเป็นผืนดินที่ต่อเนื่องออกไปจากแผ่นดินของประเทศไทยในบริเวณเทือกเขา ดงรักและหักลงสู่พื้นที่ราบลุ่มในกัมพูชา ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับเขาพระวิหารมาก
ก่อนหน้าที่กัมพูชาจะเสนอข้อพิพาทนี้ สนธิสัญญา พ.ศ. 2410 ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ได้แบ่งเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนให้อยู่ต่ำกว่าบริเวณซากปราสาทพระ วิหาร ต่อมาฝรั่งเศสเห็นว่าการปักปันเส้นเขตแดนยังไม่ดีพอ

กรณีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก


กรณีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
กัมพูชาได้เสนอให้ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นมรดกโลกต่อองค์การยู เนสโก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ณ เมืองไครสเชิร์ช นิวซีแลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2550 แต่ไทยกับกัมพูชามีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งฝ่ายไทยกล่าวว่าควรแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่เขตแดนทับซ้อนรอบปราสาทก่อน แล้วจึงค่อยเสนอ จนกระทั่งใกล้ถึงการประชุมสมัยที่ 32 ที่แคนาดา ในปีถัดมา ก็ยังไม่ได้ข้อตกลงร่วมกัน และถ้าหากเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยอ้างอิงจากแผนที่ ที่ฝรั่งเศสทำ จะทำให้ไทยต้องเสียดินแดนถอยร่นเข้ามาประมาณ 7.2 ตารางกิโลเมตร
วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร เนื่องจากไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ทับซ้อนเขาพระวิหารให้กับประชาชนคนไทยได้รับ รู้ หลังจากตกลงร่วมกับประเทศกัมพูชาไปก่อนหน้านี้นั้น
เวลา 14.00 น. นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายสุวัตร อภัยภักดิ์ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และ คณะ รวม 9 คน เป็นตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด
วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมนักวิชาการ เดินทางมาพบ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อรับมอบรายชื่อผู้คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งในส่วนของพันธมิตรฯ ได้มีการมอบรายชื่อให้กับทางสถาบันไทยคดีศึกษาไปแล้ว 6,000 รายชื่อ และวันที่ 27 มิถุนายน มอบให้อีก 3,488 รายชื่อ ซึ่งล่าสุดตัวเลขของผู้ที่คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารมีทั้งหมด 33,400 รายชื่อ ภายหลังจากที่มีการรับมอบรายชื่อจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรแล้ว ม.ล.วัลวิภา ยังได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านเรื่องนี้ ต่อนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย
วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือ ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ศาลได้ไต่สวนฉุกเฉินคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และใช้เวลาไต่สวนกว่า 10 ชั่วโมง จนมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อเวลา 02.00 น. ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังนี้
1.ให้เพิกถอนการกระทำของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เสนอร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
2.เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่มีมติเห็นชอบร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ โดยมอบหมายให้นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ฯ
3.ให้เพิกถอนการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551

4.มีคำสั่งให้นายนพดล ปัทมะ ยุติความผูกพันตามคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อประเทศกัมพูชาและองค์การยูเนสโก


ลำดับเหตุการณ์

- พ.ศ. 2442 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ค้นพบปราสาทพระวิหาร
- พ.ศ. 2447 ประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีน ได้ทำสนธิสัญญาปักปันเขตแดน ระบุให้ ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย
- พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้ไทย มีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลไทยในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้อง
- พ.ศ. 2479 ไทยขอปรับปรุงเขตแดน แต่ฝรั่งเศสผัดผ่อน
- พ.ศ. 2482 ไทยขอปรับปรุงเขตแดนกับฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ตกลงกันไม่ได้
- พ.ศ. 2484 อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ดินแดนที่เสียไปเมื่อ ร.ศ. 123 และ ร.ศ. 126 บางส่วน รวมถึงปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทย
- พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการยกเลิกอนุสัญญาโตเกียวโดยสนธิสัญญาประนีประนอม โดยมีอเมริกา, อังกฤษ และเปรูเข้ามาไกล่เกลี่ย
- พ.ศ. 2492 ประเทศไทยเข้าครอบครองปราสาทพระวิหาร โดยใช้หลักสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน
- พ.ศ. 2493 กัมพูชาเป็นเอกราชจากฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2501 กัมพูชาเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร
- พ.ศ. 2502 กัมพูชาฟ้องร้องต่อศาลโลก
- พ.ศ. 2505 ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง 9 ต่อ 3
- พ.ศ. 2550 กัมพูชาเสนอองค์การยูเนสโก ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ยังไม่มีข้อสรุป
- 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ทางการกัมพูชาปิดปราสาทเขาพระวิหารชั่วคราว หวั่นผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปทำร้ายชาวกัมพูชาในบริเวณใกล้เคียง
- 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือ ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

เขาพระวิหารบทเรียนของคนไทย

เขาพระวิหารบทเรียนของคนไทย
ในขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลง การแข่งขันของนานาประเทศต่างต้องการที่จะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี่ ประเทศเหล่านั้นได้พัฒนาตัวเองอย่างรุดหน้า เมื่อมีโอกาสที่จะก้าวหน้าประเทศอื่นที่เป็นคู่แข่งก็ไม่ยอมรีรอชักช้าฉวย โอกาส
ทวีปเอเซียของเราเป็นทวีปที่มีความอุดมสมบูรณ์ของภูมิประเทศอันอบอุ่นมี อารยะธรรมที่ยาวนานฝั่งรากเหง้าไว้ให้ลูกหลานสืบทอดมาหลายพันปี โดยเฉพาะทางภูมิปัญญาร่วมทั้งด้านสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างต่างๆตลอดจน เครื่องมือเครื่องใช้ที่ถูกขุดค้นพบบ่งบอกถึงความเจริญของคนเอเซียโบราณที่ รักษาดำรงค์เผ่าพันธุ์มายาวนาน
และในปัจจุบันชนชาติต่างๆในเอเซียได้แบ่งแยกอาณาเขตที่ชัดเจนขึ้นมีการปกครองการบริหารประเทศตามนโนบายของรัฐบาลในแต่ละยุคสมัย
ปัจจุบันไทยกับกัมพูชามีข้อพิพาทเรื่อง เขาพระวิหาร เป็นกรณีการขอขึ้นเป็นมรดกโลกต่อองค์กรยูเนสโกของกัมพูชา ในระหว่างที่เหตุการณ์ภายในประเทศไทยของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงและความไม่สงบ หลายต่อหลายครั้ง ส่วนข้างนอกประเทศของเรากัมพูชาเองก็หาช่องทางรุกก้าวไปข้างหน้าโดยเฉพาะ เรื่องเขาพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อนตามแนวชายแดน และมีข่าวว่ากัมพูชาได้ล็อปปี้คณะกรรมการองค์กรยูเนสโกเรื่องการขอขึ้น ทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยกัมพูชาอย่างลับๆครั้งที่มีการประชุมที่ ผ่านมานี้
หลังจากที่เขาพระวิหารถูกเสนอชื่อให้เป็นมรดกโลกเมื่อครั้งก่อนโดยกัมพูชา อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ระหว่างที่คนไทยเราทะเลาะกันเองหรือถูกยุยงให้ทะเลาะกันเองหรือเป็นช่องทาง หรือเป็นช่องว่างหรือเป็นแผนของใคร?และใครได้ผลประโยชน์? ผมจึงสนใจที่จะขอเก็บรวบร่วมข้อมูลเรื่องกรณีข้อพิพาทเรื่อง เขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขว้าง และเขาพระวิหารมรดกโลกที่คนไทยชื่นชมมาหลายพันปีกำลังจะสูญเสียร่วมทั้ง พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ยังไม่ปักหลักเขตแดนให้ผู้ที่สนใจอ่านและพิจารณาข้อเท็จ จริงเท่าที่หลักฐานเรามีและขออนุญาตเจ้าของบทความต่างๆที่ผมหยิบยกมาเผยแพร่ ให้คนไทยในชาติเราได้รับรู้รับทราบกันด้วยนะครับขอขอบคุณอย่างมากมา ณ โอกาศนี้


ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบันคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. 2442 ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อิสาน) ในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ" ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา 1 ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม 50 ชุด แต่ละชุดมี 11 แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมัน ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 คืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร ที่ทำให้เกิดสงครามพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. 2484 ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด 22 วัน กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ตกลงคืนจังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และพระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อมาญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่น และต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน 4 จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง

ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 และในปีต่อมา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม 13 คน เป็นทนายฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม 9 คนแ ผนที่ดังกล่าว
กระทั่งวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง 9 ต่อ 3 และในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาค ต
หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเป็นช่วงสั้นๆ ในปี พ.ศ. 2535 แต่ปีต่อมาก็ถูกเขมรแดงเข้าครอบครอง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2541 และเมื่อ พ.ศ. 2546 กัมพูชาก็ได้ตัดถนนเข้าไปจนสำเร็จสมบูรณ์หลังจากรอคอยเป็นเวลาช้านาน แต่ก็มีการห้ามเข้าอยู่เป็นระยะโดยมิได้กำหนดล่วงหน้า

สาเหตุที่ไทยแพ้คดีเขาพระวิหารแก่กัมพูชา พ.ศ.2505


นั่นเพราะไทยแพ้กัมพูชา ด้วยหลักฐานเดียวเท่านั้นคือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เคยเสด็จเยี่ยมชมเขาพระวิหาร ที่ตอนนั้นฝรั่งเศสยังยึดครองทั้งเขาพระวิหารและเขมรอยู่ และยังปรากฎธงชาติฝรั่งเศสบนเขาพระวิหาร

นั่นเป็นเหตุผลเดียวที่ทำให้ไทยต้องเสียเฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารเท่านั้นแก่กัมพูชา


ด้วยเหตุผลที่ศาลโลกอ้างในคำตัดสินคือ ไทยได้ยอมรับแล้วว่า ฝรั่งเศสยึดครองปราสาทเขาพระวิหารไว้ ตัวปราสาทจึงต้องตกเป็นของกัมพูชาต่อไป

ย้ำว่า ไทยแพ้เพราะหลักฐานธงชาติฝรั่งเศสที่อยู่บนเขาพระวิหาร เพราะนั่นหมายถึงไทยได้ยอมรับอธิปไตยบนเขาพระวิหารของฝรั่งเศส

สมเด็จพรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเยี่ยมชมเขาพระวิหาร พ.ศ. 2472
ไทยเราจึงปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก คือยอมให้กัมพูชาได้สิทธิเฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารไป โดยมติครม.2505 ได้ล้อมรั้วรอบตัวปราสาทเขาพระวิหารเอาไว้ แต่พื้นที่ 4.6 ตร.กม. ยังเป็นของไทยอยู่

ซึ่งกัมพูชาก็ไม่ได้คัดค้านอะไรมาเกือบ 40 ปี

จนกระทั่งพ.ศ. 2543 รัฐบาลชวน หลีกภัย ดันไปเรียกกัมพูชามาตกลงร่วมกันในMOU43 เพื่อปักปันหลักเขตแดนใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกันของทหารทั้ง 2ฝ่าย

ซึ่งMOU43 นี้ แปลว่า รัฐบาลไทยดันไปยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2แสน ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นแบบโกงๆ ที่กัมพูชานำมาอ้างใช้ในการปักปันเขตแดนร่วมกันใหม่ด้วย

นี่คือจุดเริ่มต้นของการเสียดินแดน 4.6 ตร.กม. ซึ่งตอนเขมรได้นำเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว นายซกอาน รัฐมนตรต่างประเทศกัมพูชา ได้อ้างเรื่อง MOU43 ด้วยว่าไทยยอมรับแผนที่ 1 ต่อ  2แสนของกัมพูชาแล้ว

แถมรัฐบาลทักษิณยังไปทำ MOU44 เรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล โดยอ้างอิงที่ MOU43 เป็นหลักซ้ำเข้าไปอีก ตอกย้ำว่าไทยยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนของกัมพูชาแล้วจริงๆ

ซึ่งหากไทยต้องเสียพื้นที่ 4.6 ตร.กม. อย่างเป็นทางการไปจริงๆ อีกเมื่อไหร่

หลักเขตแดนที่เคยมีจะถูกยกเลิกและทำขึ้นใหม่ (อาจใช้เวลาอีกหลายสิบปี) ซึ่งจะมีผลถึงพื้นที่ทางทะเลที่ไทยเคยครอบครองอยู่ ก็อาจจะต้องตกไปเป็นของกัมพูชาด้วย

ซึ่ง นอกจากนั้น ยังจะมีพื้นที่ในจังหวัดทางภาคอีสานอีกหลายจังหวัด ที่อาจโดนยึดครองไปด้วย ตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ของกัมพูชา อีกหลายล้านไร่ครับ ซึ่งกัมพูชามันต้องดำเนินการเรื่องนี้ต่อแน่ๆ 

นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ ไทยจะยอมเสียพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ไปอีกไม่ได้แล้ว 

ส่วนรายละเอียดอีกหลายอย่าง และที่จริงไทยจะไม่แพ้กัมพูชาเลย ถ้าไม่ไปขึ้นศาลโลกตั้งแต่แรก  ผมขอแนะนำให้


ขอบคุณบทความจาก:
ใครมีข้อมูลอะไรสามารถสามารถนำมาแบ่งปัน กันได้นะคะ
ที่มา: http://kaeake.blogspot.com/

เหตุผลใดไทย จึงแพ้คดีปราสาทพระวิหาร


ปราสาทพระวิหาร

บทความโดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

           ...คน ไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็นเพราะว่า ประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก...

              ประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารกลายเป็นหัวข้อที่สาธารณชนให้ความสนใจอีกครั้ง เมื่อประเทศกัมพูชายื่นเรื่องการขอเสนอให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตาม อนุสัญญา Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage โดยที่ประเทศไทยคัดค้านการยื่นฝ่ายเดียวของกัมพูชา โดยอ้างเรื่องความสมบูรณ์ทางวิชาการด้านโบราณคดีและการที่ทั้งสองประเทศยัง ตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับเขตแดน

           แม้คดีนี้จะผ่านความรับรู้ของคนไทยมายาวนานแล้วก็ตามแต่ปรากฏว่ามีคนไทยน้อยมากที่รู้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในเรื่องนี้

           เหตุผลที่คนไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็น เพราะว่าประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก

           และด้วยเหตุที่คนไทยรู้จักกับคดีนี้น้อย จึงอาจมีการบิดเบือนข้อมูลได้ง่าย เนื่องจากคดีนี้มีสองประเด็นใหญ่ที่ต้องพิจารณาคือ ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลและการพิจารณาขั้นเนื้อหา จึงขอแยกอธิบาย ดังนี้

  ประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลโลก

           ประชาชนคนไทยมักจะสงสัยอยู่เสมอว่า ทำไมประเทศไทยต้องไปขึ้นต่อสู้คดีต่อศาลโลกที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีอธิปไตย มีเอกราช การขึ้นต่อสู้คดีของประเทศไทยมิเท่ากับเป็นการเสียเอกราชหรือ

           ประเด็นนี้ เป็นประเด็นข้อกฎหมายที่สลับซับซ้อน หากใช้ความรู้สึกชาตินิยมหรือสามัญสำนึกย่อมไม่เข้าใจว่าทำไมประเทศไทยต้อง ขึ้นศาลโลก ผู้เขียนจะขออธิบายช่องทางการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเสียก่อนว่ามีวิธีการใด บ้าง การยอมรับเขตอำนาจศาลโลกนั้นทำได้อยู่สามประการคือ

             ประการแรก การ ยอมรับเขตอำนาจการพิจารณาคดีโดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาใดอนุสัญญาหนึ่ง ซึ่งกำหนดว่า หากมีปัญหาในการตีความสนธิสัญญา ให้ศาลโลกเป็นผู้พิจารณา

             ประการที่สอง ประเทศคู่พิพาทตกลงทำความตกลงยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเป็นเฉพาะกรณีๆ ไป กล่าวคือ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นมาแล้ว รัฐคู่พิพาทได้ทำสนธิสัญญายอมรับเขตอำนาจศาลเฉพาะข้อพิพาทนั้น และ

             ประการที่สาม รัฐได้ทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาล ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐกำหนดไว้

           ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลโลก (ทั้งศาลโลกเก่าและใหม่) ของประเทศไทยนั้นเป็นประเด็นที่คนไทยไม่ใคร่ได้กล่าวถึง อาจเป็นเพราะว่าเป็นประเด็นข้อกฎหมายมากเกินไปประชาชนทั่วไปจึงไม่ค่อยได้ สนใจ

           อีกทั้งทางการก็มิได้ชี้แจงประเด็นนี้ต่อสาธารณชน มากนักทั้งๆ ที่ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมาก และเป็นประเด็นที่หากมีการกล่าวถึงในวงกว้างแล้วก็อาจมีผลกระทบต่อผู้ เกี่ยวข้องได้ แต่เนื่องจากประเด็นนี้สำคัญ ผู้เขียนจึงมิอาจหลีกเลี่ยงที่จะข้ามไปได้จึงขอกล่าวถึง ดังนี้

           ประเทศไทยได้ทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก ทั้งหมด 3 ฉบับ ดังนี้

             ฉบับแรกทำ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1929 และเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ในปี ค.ศ.1930 โดยคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ "ศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ" (Permanent Court of International Justice : PCIJ) เป็นเวลา 10 ปี

             ฉบับที่สอง รัฐบาลไทยทำคำประกาศโดยมิวัตถุประสงค์เพื่อ "ต่ออายุ" (renew) เขตอำนาจศาลโลกเก่า โดยคำประกาศฉบับที่สองนี้ทำเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1940 โดยคำประกาศที่สองนี้เริ่มมีผลใช้บังคับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1940

             ฉบับที่สาม รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1950 ซึ่งหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สอง (ที่ต่ออายุคำประกาศฉบับแรก) หมดอายุเป็นเวลา 14 วัน

           มีข้อสังเกตที่น่าสนใจและเป็นประเด็นข้อกฎหมายที่ฝ่ายไทยนำมาอ้างก็คือ ศาลโลกเก่านั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1946 และตามธรรมนูญของศาลโลกใหม่ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ" (International Court of Justice : ICJ) นั้นมาตรา 36 วรรค 5 ได้กำหนดว่า ให้การยอมรับเขตอำนาจ "ศาลโลกเก่า" โอนถ่ายไปยัง "ศาลโลกใหม่" หากว่า คำประกาศนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่หรือกล่าวง่ายๆ คือ ยังไม่ขาดอายุนั่นเอง

           ข้อต่อสู้เกี่ยวกับการคัดค้านเขตอำนาจศาลโลกใหม่ที่ทนายความฝ่ายไทยต่อ สู้ในชั้นของการคัดค้านเขตอำนาจของศาลโลกใหม่นั้นมีว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ยุติลงอันเป็นผลมาจากการสิ้นสุดของศาล โลกเก่า ดังนั้น คำประกาศต่ออายุเขตอำนาจศาลโลกเก่าเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 จึงไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป

           อีกทั้งคำประกาศดังกล่าวมิใช่คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกใหม่ ดังนั้น ศาลโลกใหม่จึงไม่มีเขตอำนาจ

           แต่ข้อต่อสู้นี้อ่อนมาก ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฉบับที่สามที่รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 นั้น ไม่สามารถใช้เป็นเหตุผลในการต่ออายุยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ เพราะว่า คำประกาศฉบับที่สามนี้ ทำหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สองหมดอายุแล้วสองอาทิตย์

           ศาลโลกเห็นว่า สิ่งที่จะต่ออายุได้นั้น สิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ยังมีอยู่ มิใช่เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว อีกทั้งรัฐบาลไทยก็รู้ดีว่าขณะที่ทำคำประกาศฉบับที่สามนั้นทำหลังจากที่ศาล โลกเก่าได้สิ้นสุดลงแล้วกว่าสี่ปี (ศาลโลกเก่าสลายตัวเมื่อปี ค.ศ.1946 แต่คำประกาศฉบับที่สามทำเมื่อปี ค.ศ.1950) ข้ออ้างของประเทศไทยจึงฟังไม่ขึ้น

           ประเด็นต่อไปมีว่า ในเมื่อคำประกาศฉบับที่สามฟังไม่ได้ว่าเป็นคำประกาศต่ออายุยอมรับเขตอำนาจ ศาลโลกเก่าแล้ว ผลในทางกฎหมายของคำประกาศฉบับที่สามคืออะไร ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฉบับที่สามเป็นคำประกาศใหม่ ที่แยกเป็นเอกเทศออกจากคำประกาศฉบับแรกและฉบับที่สอง

           และหากพิจารณาเนื้อหาของคำประกาศที่สามแล้ว ศาลโลกเห็นว่า เป็นการประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกใหม่ โดยอิงเงื่อนไขจากคำประกาศฉบับแรก

           ดังนั้น ศาลโลกจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลโลกมีเขตอำนาจพิจารณาข้อพิพาทที่รัฐบาลกัมพูชาฟ้องรัฐบาลไทย ข้อต่อสู้ทางกฎหมายของฝ่ายไทยฟังไม่ขึ้น

ปราสาทพระวิหาร

  ประเด็นเรื่องเนื้อหาของข้อพิพาท

           คําร้องของกัมพูชาที่สำคัญที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร การนำเสนอพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายนั้นมีดังนี้

           ฝ่ายไทยเสนอว่า หากพิจารณาตามสนธิสัญญาที่สยามทำกับประเทศฝรั่งเศส (ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสปกครองกัมพูชา) เมื่อปี ค.ศ.1904 ซึ่งตามสนธิสัญญาจะใช้ "สันปันน้ำ" (watershed) ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งไทย แต่หากพิจารณาตามแผนที่ ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งกัมพูชา

           ขออธิบายตรงนี้เลยว่าหลังจากที่มีการทำสนธิสัญญาทวิภาคีในปี ค.ศ.1904 ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งคณะกรรมการผสมขึ้น และไม่นานนัก คณะกรรมการชุดนี้ก็มิได้ทำงานอีกต่อไป ต่อมา ฝ่ายไทยได้ร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสจัดทำแผนที่ขึ้น ข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนที่เจ้าปัญหาฉบับนี้ มีดังนี้

             ประการแรก แผนที่ นี้เป็นการร้องขอจากฝ่ายไทยให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้น แผนที่นี้ทำขึ้นที่กรุงปารีส การที่ประเทศร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้นนั้นเป็นเพราะว่าในขณะนั้น ประเทศไทยยังขาดผู้เชี่ยวชาญในการทำแผนที่

             ประการที่สอง การปักปันเขตแดนแล้วลงมาตราส่วนลงในแผนที่เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของประเทศฝรั่งเศส โดยที่ฝ่ายไทยไม่มีส่วนร่วมเลย

             ประการที่สาม การทำแผนที่นี้ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการผสมแต่อย่างใด ในประเด็นนี้ผู้พิพากษาฟิสต์มอริสซึ่งเป็นหนึ่งในองค์คณะกล่าวว่า คณะกรรมการผสมไม่เคยแม้แต่จะ "เห็น" แผนที่นี้ อย่าว่าแต่ "รับรอง" เลย เป็นการร้องขอฝ่ายเดียวจากรัฐบาลไทย

             ประการที่สี่ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดและเป็นเหตุผลสำคัญที่ศาลโลกวินิจฉัยให้ประเทศไทยแพ้ก็คือ แม้ ประเทศไทยจะไม่มีส่วนในการทำแผนที่ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยคัดค้านหรือประท้วงเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสอยู่หลายครั้งที่จะทักท้วงหรือประท้วงถึงความคลาด เคลื่อนหรือความผิดพลาดของแผนที่

           โอกาสที่จะประท้วงความไม่ถูกต้องของแผนที่ เช่น กรณีการเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือกับประเทศฝรั่งเศสที่ทำขึ้นในปี ค.ศ.1925-1937 แต่ไทยก็มิได้ทักท้วง

           ซึ่งศาลโลกเห็นว่า การนิ่งเฉยของประเทศไทยเป็นเวลานานเท่ากับเป็นการยอมรับความถูกต้องของแผนที่แล้ว จะมาปฏิเสธในภายหลังนั้น ไม่อาจกระทำได้ เป็นการปิดปากประเทศไทยว่าจะมาปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ไม่ได้

           ยิ่งไปกว่านั้น ทาง การของไทยเองยังได้ทำแผนที่ใช้ขึ้นเองอีกด้วยในปี ค.ศ.1937 โดยแผนที่ที่เจ้าหน้าที่ของไทยเป็นผู้จัดทำ ได้แสดงว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ประเด็นนี้ไทยอ้างว่า แผนที่ที่ไทยทำขึ้นเองฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการทหารเป็นการภายใน เท่านั้น แต่ศาลโลกไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของไทยในประเด็นนี้

           เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลโลกเห็นว่า ประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหารก็คือ การที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ไปเยือนกึ่งเป็นทางการที่ปราสาทพระวิหาร ในครั้งนั้น กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งกองทหารเกียรติยศรับการเสด็จอย่างเต็มที่ และยังชักธงชาติของประเทศฝรั่งเศสด้วย

           ซึ่งศาลโลกเห็นว่า เท่ากับประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารว่าเป็นของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส) อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ ผู้พิพากษาศาลโลกท่านหนึ่งคือ ท่านเวลลิงตัน คู ซึ่งเป็นตุลาการเสียงข้างน้อยได้ทำความเห็นแย้งว่า ในเวลานั้นกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแล้ว แต่ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทย อีกทั้งพระองค์ยังตรัสว่า การมาเยือนปราสาทพระวิหารนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง

           นอกจากนี้ สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ไทยแพ้คดีอาจเป็นผลมาจากการตั้งรูปคดีที่ผิดพลาดมา ตั้งแต่ต้น แทนที่ประเทศไทยจะปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ ควรรับประเด็นเรื่องแผนที่ แล้วยกข้อต่อสู้ว่า ในกรณีที่ข้อความในสนธิสัญญาที่ให้ใช้ "สันปันน้ำ" แย้งกับ "แผนที่" ในกรณีนี้ให้ถือว่าข้อความในสนธิสัญญามีค่าบังคับเหนือกว่า

           ซึ่งอนุสัญญาแวร์ซายส์ มาตรา 29 ก็มีข้อความทำนองนี้ อีกทั้งก็มีคดีที่ศาลตัดสินให้ความน่าเชื่อถือของสนธิสัญญายิ่งกว่าแผนที่

            จริงหรือที่ "การนิ่งเฉย" หรือ "กฎหมายปิดปาก" มิใช่เป็นหลักกฎหมาย

           หลังจากที่ไทยแพ้คดี นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวลานั้นกล่าวทำนองว่าศาล โลกนำหลักกฎหมายที่ไม่ชัดเจนมาตัดสินคดี ที่น่าคิดก็คือ ทำไมทนายฝ่ายไทยไม่ทราบ หรือว่า "หลักกฎหมายปิดปาก" หรือ "การนิ่งเฉย" นั้น ศาลโลกหรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเคยนำมาใช้หลายคดีแล้ว

           อีกทั้งนักกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังได้เขียนบทความเรื่อง "หลักกฎหมายปิดปากที่ใช้ในศาลระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ของหลักกฎหมาย ดังกล่าวกับการนิ่งเฉย" (Estoppel before Internationals and Its Relation to Acquiescence) เขียนโดยนักกฎหมายระหว่างประเทศชื่อ Bowett ลงในวารสาร British Yearbook of International Law ปี ค.ศ.1957 และบทความชื่อ "หลักกฎหมายปิดปากในกฎหมายระหว่างประเทศ" โดย Mcgibborn ในวารสาร International and Comparative Law Quarterly ปี 1958 ซึ่งตีพิมพ์ก่อนที่ศาลโลกจะตัดสินประมาณ 3-4 ปี

           ไม่อาจคาดการณ์ได้แน่ชัดว่าฝ่ายไทยได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ แต่ไม่ว่าฝ่ายไทยจะได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ก็ตาม ประเด็นที่น่าคิดก็คือ ทนายความของฝ่ายไทยน่าจะย่อมรู้ถึงหลักกฎหมายปิดปากเป็นอย่างดี

           เพราะหลักว่าด้วย "การถูกการตัดสิทธิ" (Preclusion) หรือ "การนิ่งเฉย" อาจเทียบได้หรือมีผลเท่ากันกับ "หลักกฎหมายปิดปาก" อันเป็นหลักกฎหมายอังกฤษ หรือแองโกลแซกซอน

  บทส่งท้าย

           สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้

           หากประเทศไทยจะเสียดินแดนอีกครั้งคงไม่ใช่เพราะนำข้อมูลการต่อสู้ทาง กฎหมายคดีความเอาไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านหรือเกิดจากความไม่รักชาติ ไม่สามัคคีอย่างที่คนไทยหลายคนเข้าใจกัน (ซึ่งรวมถึง พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ด้วย) แต่เกิดจากความไม่รอบคอบ ความประมาท และไม่รู้จักหน้าที่ของตนเองมากกว่า เหมือนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสามจังหวัดภาคใต้ของเรา




ข้อมูลจาก