Saturday, April 20, 2013

ภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ศาลโลกระหว่างไทยกับกัมพูชาเมื่อ 46 ปีก่อน


ผมขออนุญาตนำภาพเหตุการณ์ในอดีตมาให้ชมเป็นภาพจากหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยในยุคนั้น
ภาพเหตุการณ์ในอดีตจากหนังสือพิมพ์สยามนิกร



ภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ศาลโลกกรณีข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาเมื่อ 46 ปีก่อน
ที่มีลายพระหัตถ์ของอดีตกษัตริย์นโรดมสีหนุกำกับ

แน่นอน ว่าคำพิพากษาดังกล่าวได้มีผลใช้บังคับในทันที และไทยได้เสีย "เขาพระวิหาร" ให้แก่กัมพูชาไปตั้งแต่บัดนั้นมา แต่อย่างไรก็ตามเรายังมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะรื้อฟื้นคดีดังกล่าว ไม่ว่าจะนานสักเพียงใด สาเหตุเพราะปัญหาเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศอาจถูกระงับไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจาก

1. รัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีเทคนิคของการสำรวจพื้นที่ที่ดีพอหรือไม่สามารถนำ เทคนิคเหล่านี้ไปใช้เพื่อตรวจว่าเส้นเขตแดนปัจจุบันถูกต้องตรงตามที่ตนได้ทำ ความตกลงไว้หรือไม่

2. รัฐที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นว่าผลประโยชน์ของงานในด้านอื่นมีความสำคัญกว่า

3. รัฐที่มีดินแดนติดต่อกันยังไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจหรือการเมืองออกได้อย่างชัดเจน

ที่ผ่าน ๆ มาจนถึงขณะนี้ต้องยอมรับว่าไทยยังไม่มีรัฐบาลใดกล้านำกรณีดังกล่าวกลับเข้า มาเพื่อส่งให้ศาลโลกพิจารณาใหม่ อีกทั้งเรายังไม่มีอิทธิพลเพียงพอที่จะไปล็อบบี้หรือบังคับให้ศาลโลกเปิดศาล ไต่สวนเรื่องนี้ขึ้นมาได้อีก

แต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่กระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลในขณะนี้ ซึ่งนำโดยนายนพดล ปัทมะ จะยื่นสิทธิอันควรในการเรียกร้องหรือพื้นคดีข้อพิพาทกรณี เขาพระวิหาร ในการเรียกร้องสิทธิอันพึ่งมีพึงชอบในผืนแผ่นดินอันควรเป็นของไทยตามหลักสัน ปันน้ำให้แก่รัฐบาลกัมพูชาโดยชอบธรรมและไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ได้อีกตลอดไป โดยไม่สามารถเรียกร้องใด ๆ ได้อีก

นี่ยังไม่รวมถึงการที่กระทรวงต่างประเทศ ของรัฐบาลไทย เป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์ให้ทั่วโลกได้รับรู้โดยทั่วกันนะค่ะ ว่า "เขาพระวิหาร" เป็นของกัมพูชาจริง และได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทย (วะ ฮะ ฮ่า) อย่างน้อยก็ชุดปัจจุบัน

นายนพดล ชี้แจงว่านี่เป็นผลงานอันควรได้รับ "ดอกไม้" มากกว่า "ก้อนหิน" แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ค่ะ ต้องเรียกว่าได้ "ปราสาทหิน" ไปทั้งหลังเลยมากกว่าค่ะ

คุณนพดลคงลืมไปค่ะว่ากรณีที่เราเสียเขาพระวิหารในปี พ.ศ. 2505 นั้น รัฐบาลไทยยังมิได้ลงนามรับรองแผนที่ที่เป็นข้อพิพาทแม้นแต่น้อย แต่ศาลโลกก็พิจารณาให้ไทยต้องเสียดินแดนส่วนนั้นไป เพราะ

ข้อเท็จจริงก็คือ "รัฐบาล มีอำนาจที่จะรับรองผลของการปักปันเส้นเขตแดนที่คลาดเคลื่อนจากแนวสันปันน้ำ (ซึ่งอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 บัญญัติไว้)” กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ การรับรองแผนที่ภาคผนวก 1 โดยรัฐบาลคู่พิพาทเป็นความตกลงระหว่างประเทศฉบับใหม่ ซึ่งมีผลลบล้างข้อความที่ภาคีคู่สัญญาได้ตกลงกันไว้แต่เดิมในอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 นั่นเอง


รัฐบาลสยามมิได้ทักท้วงข้อผิดพลาดดังกล่าว ขณะที่และภายหลังที่ฝรั่งเศสได้ส่งแผนที่ภาคผนวกที่ 1 มาให้สยามพิจารณา จึงไม่อาจอ้างเรื่องการทำแผนที่ผิดพลาด โดยนิ่งเฉย และไม่แสดงท่าทีคัดค้านเส้นเขตแดนทั้งที่ไทยสามารถหลีกเลี่ยงได้ การนิ่งเฉยของไทยนั้นเป็นการกระทำที่มีส่วนก่อให้เกิดความผิดพลาดนี้ขึ้นมา

อ้างอิง : กรณี *เขาพระวิหาร* บทเรียนไทย ที่ไม่เคยจำ
http://www.oknation.net/blog/swongviggit/2008/06/16/entry-2


ประวิติศาสตร์อีกบทหนึ่งของคนไทย



ความสวยงามและยิ่งใหญ่ของปราสาทเขาพระวิหาร
จินตนาการสร้างสรรค์จากความเชื่อ และ น้ำมือของมนุยษ์สู่โลกแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงค์


ดู google map มันลากเส้นเขตแดนตัดผ่านเขาพระวิหารของเราไป

ตามใจเขมร

เจ็บใจจริง

0 comments:

Post a Comment