Saturday, April 20, 2013

เขาพระวิหารเป็น "มรดกโลก"

เราต้องเสียเขาพระวิหารให้กับกัมพูชา
เพราะการตัดสินของศาลโลกเมื่อ 15 มิถุนายน 2505
เพราะแผนที่ ที่ทำไว้สมัยกัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
ระบุอาณาเขตชัดเจนว่าเขาพระวิหารอยู่ในเขตแดนของกัมพูชา
ทั้งๆ ที่ทางขึ้นเขาพระวิหารอยู่ในแผ่นดินไทย

ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2502
สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชา
ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
เพื่อเรียกร้องอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทฯ โดยยื่นฟ้องทั้งหมด 73 ครั้ง
ด้วยข้ออ้างที่ว่าชนชาวขอมเป็นผู้สร้างปราสาทนี้ขึ้นมา จึงต้องเป็นขอมสมัยนั้นชาวไทยทุกคนต่างยอมรับไม่ได้
มีการปลุกกระแสรักชาติ เรียกร้องเอาเขาพระวิหารกลับคืน
มีการเรี่ยไรบริจาคเงินสบทบทุนคนละ 1 บาท
เป็นค่าใช้จ่ายให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นำคณะทนายความไปต่อสู้ในศาลโลก
....ก่อนท้ายที่สุดจะตกเป็นของเขมร


ทั้งนี้ การตัดสินของศาลโลก ไม่ได้พิจาณาหลักฐานจากไทยเลยว่า
ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2442
(ค.ศ.1899 หรือ ร.ศ.118)
โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้ทรงค้นพบ
และพระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่ชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า "118 สรรพสิทธิ"
อีกทั้ง กรมศิลปากรยังได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน
โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2483
ผลการตัดสินของศาลโลก มีข้อกำหนด 3 ประการ
ให้รัฐบาลไทยที่มี "จอมพลสฤษด์ ธนะรัตน์"
เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นต้องปฏิบัติตาม คือ

1. ให้ขีดเส้นแบ่งเขตแดนที่จะต้องยกให้กัมพูชาจำนวน 150 ไร่
โดยยึดสันปันน้ำเป็นตัวแบ่งเส้นเขตแดน
(แต่จวบจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้มีการปักปันเขตแดนอย่างเป็นทางการ)

2. ให้คืนโบราณวัตถุแก่กัมพูชาทั้งหมด 50 ชิ้น

3. ให้ถอนทหารและตำรวจของไทย ออกจากพื้นที่เขาพระวิหาร


ณ วันนี้ เขาพระวิหาร
กลับมาอยู่ในกระแสความสนใจอีกครั้ง เมื่อกัมพูชายื่นเรื่องให้ยูเนสโก
ประกาศรับรองเขาพระวิหารเป็น "มรดกโลก" ของประเทศกัมพูชา โดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับไทย มันจึงกลายเป็นข้อพิพาทใหญ่โตเหมือนเมื่อ 50 ปีก่อน
ระหว่างไทยกับกัมพูชา
โดยยูเนสโกจะมีการประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาเห็นชอบในเรื่องนี้ต่อไป
ทางไทยจึงจำเป็นต้องรีบยื่นเรื่องให้ยูเนสโก
ชะลอการอนุมัติให้เขาพระวิหารเป็น "มรดกโลก" ไว้ชั่วคราว
เพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนในอดีต

เนื่องจากที่ตั้งของปราสาทเขาพระวิหาร
เป็นพื้นที่ทับซ้อน ระหว่างไทยกับกัมพูชา
ซึ่งทั้ง 2 ประเทศยังไม่ได้เจรจาปักปันเขตแดนอย่างเป็นทางการ
ดังนั้นหากในเดือนนี้ประชุมใหญ่ของยูเนสโกที่บราซิลอนุมัติเห็นชอบให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว
ก็เท่ากับประเทศไทยต้องเสียดินแดนในส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่!!!!
หากจะประกาศเป็น "มรดกโลก" ทั้ง 2 ประเทศควรต้องเป็นผู้เสนอร่วมกัน
เพราะไทยก็มีสิทธิ์ในเขาพระวิหารครึ่งหนึ่ง
การที่กัมพูชายื่นเรื่องไปแต่เพียงฝ่ายเดียวจึงไม่เป็นการสมควร

จริงอยู่ที่ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารตกเป็นสมบัติของกัมพูชาตามเส้นแบ่ง เขตแดน แต่องคประกอบสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายแห่งของเขาพระวิหาร ยังอยู่ในเขตแดนไทย โดยอยู่ในความดูแลของอุทยานฯ เขาพระวิหาร ไม่ว่าจะเป็นปราสาทโดนตวล บรรณาลัย สถูปคู่ สระตราว และโบราณสถานอื่น ๆ

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของฝ่ายไทย จึงมีความเห็นว่า
"ถ้าจะให้เกิดความสมบูรณ์ทางวิชาการ
และหลักประวัติศาสตร์ของเทวาลัยที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก
จำต้องรวมองค์ประกอบทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน
จึงควรประกาศเป็นพื้นที่มรดกโลกร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา
เพราะต้องมีการทำแผนอนุรักษ์และจัดการพื้นที่หากได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นมรดกโลก
รวมทั้งต้องมีการทำเขตกันชนพื้นที่มรดกโลกระหว่างกัน
โดยก่อนหน้านี้ทางเราเคยมีความพยายามในการเจรจาทางการทูต
แต่กัมพูชาก็ไม่ยอมหารือกับไทย
แต่อยู่ ๆ จะทำเรื่องเสนอเข้าไปอีกครั้ง เราก็คงไม่ยอมเช่นกัน?

0 comments:

Post a Comment